สถาบันสอนว่ายน้ำเป็นเร็ว Bangkok Swimming by ครูจิ้น เราพร้อมช่วยท่านว่ายน้ำเป็นเร็วภายในคอร์สเดียว ได้รับการยอมรับจากสื่อชั้นนำทั่วประเทศ ดาราหลายท่านไว้วางใจมาเรียนที่นี่ รับประกันผล 100%

ไซนัสอักเสบ ปัจจุบันนักเรียนที่มาเรียนว่ายน้ำได้พูดถึงความเจ็บปวดเเละความทรมานของโรคไซนัสอักเสบ เมื่อเป็นเเล้วไม่สามารถมาเรียนว่ายน้ำได้หรือต้องหยุดว่ายน้ำไปจนกว่าจะหายโรค ครูเลยอยากนำโรคนี้มาเจาะลึกให้ทุกท่านทราบเข้าใจถึงโรคเพื่อป้องกันเเละหาเเนวทางรักษาได

โรคไซนัสอักเสบ หมายถึง การอักเสบและการติดเชื้อของเยื่อบุจมูกและไซนัส ซึ่งแบ่งประเภทโดยอาศัยระยะเวลาของการมีอาการ ดังนี

ไซนัสคือโพรงอากาศหรือโพรงในกระดูกในหน้าของเราเองนี่แหละครับ โพรงนี้จะเป็นอยู่เป็นคู่ได้แก่ ไซนัสบริเวณแก้ม ไซนัสใต้สันจมูก และไซนัสบริเวณหน้าผาก ทุกโพรงไซนัสจะมีช่องหรือรูระบายลงสู่โพรงจมูกและมีเยื่อบุปกคลุมในโพรงทั้งหมด

โพรงอากาศไซนัสนี้มีอากาศบรรจุอยู่เพื่อช่วยทำให้กระดูกกะโหลกศีรษะเบายิ่งขึ้น ส่วนอากาศที่อยู่ในโพรงจมูกและใบหน้าจะช่วยในการเปล่งเสียง ในยามปกติโพรงอากาศเหล่านี้จะบุด้วยเยื่อบุที่ผลิตน้ำเมือกเหนียวใส และมีท่อเปิดเข้าไปในโพรงจมูกตามตำแหน่งต่างๆ  นี่คือกลไกธรรมชาติของร่างกายคุณที่จะมีน้ำเมือกที่ไหลออกมาช่วยกวาดล้างฝุ่นและเชื้อโรคแบคทีเรียลงสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งมีน้ำกรดคอยทำลายเชื้อโรคพวกนี้อีกทอดหนึ่ง น้ำเมือกเหนียวนี้ก็คือ น้ำมูกและส่วนประกอบของเสมหะด้วย

ได้แก่

1. Frontal sinus: บริเวณหัวคิ้ว

2. Ethmoid sinus: บริเวณหัวตา

3. Maxillary sinus: บริเวณโหนกแก้ม

4.  Sphenoid sinus: บริเวณฐานสมอง

สาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบอาจเกิดขึ้นในไซนัสใดไซนัสหนึ่ง หรือหลายไซนัสก็ได้ ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ถ้าเกิดขึ้นในไซนัสหลาย ๆ ไซนัสพร้อมกันเรียกว่า Pansinusitis ไซนัสอักเสบมักเกิดร่วมกับจมูกอักเสบ (rhinitis) เสมอ ๆ ดังนั้น ปัจจุบันจึงใช้คำาว่า rhinosinusitis แทนคำาว่า sinusitis เฉย ๆ เชื้อที่ทำาให้เกิดไซนัสอักเสบ อาจเกิดจากไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา

1.1) เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการไม่เกิน 10 วัน และมักจะหายได้เอง

1.2) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการของหวัดหรือการติดเชื้อในระบบ ทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่า 10 วันหรือมีอาการดีขึ้นแล้วกลับแย่ลง

โรคไซนัสอักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลัน คือ โรคไซนัสอักเสบที่ผู้ป่วยมีอาการตั้งแต่ 4 ถึง 12 สัปดาห์
โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง คือโรคไซนัสอักเสบที่ผู้ป่วยมีอาการตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และอาจมีอาการของโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันแทรกเป็นระยะๆได้

อาการเเละอาการเเสดงของไซนัสอักเสบ

อาการหลักมี 3 อาการ ได้แก่ อาการคัดหรือแน่นจมูก มีน้ำมูกไหลออกมาทางรูจมูกด้านหน้า หรือไหลลงคอ รวมถึงมีอาการปวด หรือแน่นบริเวณใบหน้า อาจมีการรับกลิ่นเสียไป เมื่อตรวจดูภายในโพรงจมูก มีการอุดตัน เนื้อเยื่อบวมหรืออาจพบมีริดสีดวงจมูก หรือหนองไหล

โรคไซนัสอักเสบ มีกี่ชนิด?

1. โรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute sinusitis)

เป็นชนิดหลักๆ ที่พบได้ทั่วไป ซึ่งอาการผู้ป่วยจะค่อนข้างแย่ในช่วง 10 วันสุดท้าย แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจจะไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่อันตรายหรือรุนแรง

2. โรคไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic sinusitis)

3. โรคไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute sinusitis)

โรคไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลันจะมีระยะเวลาในการติดเชื้อไม่เกิน 8 สัปดาห์ และมีวิธีที่สามารถรักษาให้หายได้ง่าย

เกณฑ์การวินิจฉัยไซนัสอักเสบ (Rhinosinusitis)  ผู้ป่วยต้องมีอาการ

1. คัดจมูก (nasal blockage/obstruction/congestion)

2. น้ำมูกไหล ซึ่งอาจไหลออกมาทางรูจมูก หรือไหลลงคอ (anterior/posteriornasal drip)อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น- อาการปวด หรือรู้สึกตื้อ ๆ บริเวณข้างจมูก หรือใบหน้า

– ความสามารถในการรับกลิ่นผิดปกติไปโดยอาการคัดจมูกและน้ำมูกไหลนั้น จะต้องพบร่วมกับ

– การตรวจในโพรงจมูกโดยกล้องที่บริเวณ Middle meatus

– พบ* มูกหนอง (Mucopurulent discharge) และ/หรือ* การบวมของเยื่อบุจมูกที่บริเวณนั้น

การจำาแนกชนิดการจำแนกชนิดของไซนัสอักเสบตามระยะเวลา

1. ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (acuterhinosinusitis) คือไซนัสอักเสบที่มีอาการน้อยกว่า 12 สัปดาห์ และอาการต่าง ๆ หายสนิท (complete resolution)

2. ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronicrhinosinusitis: CRS) คือไซนัสอักเสบที่เป็นมานานมากกว่า หรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ และในช่วงที่เป็นนั้น อาการต่าง ๆ ไม่มีช่วงที่หายเลย(without resolution of symptoms)เนื่องจากอาการต่าง ๆ ที่ใช้ในการวินิจฉัยไซนัสอักเสบเฉียบพลันนั้น แทบจะเหมือนกับอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหรือหวัดทั่ว ๆ ไป จึงใช้ระยะเวลา สำหรับแยกไซนัสอักเสบเฉียบพลันออกจากหวัด โดยหวัด หรือไซนัสอักเสบเฉียบพลันจากไวรัส (acuteviral rhinosinusitis) มีช่วงเวลาที่มีอาการน้อยกว่า 10 วัน และอาจกล่าวได้ว่า ไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากไวรัส (acutenon-viral rhinosinusitis) มีอาการคล้ายหวัดที่เป็นมานานเกิน 10 วันแล้วไม่หาย หรือเป็นมานานเกิน 5 วันแล้วอาการต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นมากขึ้น (double sickening) โดยที่อาการดังกล่าวเป็นมาไม่นานกว่า 12 สัปดาห์

สาหรับไซนัสอักเสบเรื้อรังนั้น สามารถแบ่งย่อย (sub-classification) ได้อีกเป็น

1. ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่พบร่วมกับริดสีดวงจมูก (CRS with nasal polyposis: CRS with polyp)

2. ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ไม่พบริดสีดวงจมูก (CRS without nasal polyposis: CRS without polyps)

การรักษาไซนัสอักเสบ

1. การรักษาด้วยยา (medical management of rhinosinusitis)

เนื่องจากไซนัสอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเกิดจากการคั่งของนํา้ามูกที่อยู่ในไซนัส และเกิดการอักเสบของเยื่อบุไซนัส หลักการรักษาไซนัสอักเสบคือ

1.1) การกำจัดเชื้อแบคทีเรีย (eradicate infection)  โดยการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมและนานเพียงพอสําาหรับแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของไซนัสอักเสบชนิดนั้น ๆ ในกรณีไซนัสอักเสบเฉียบพลัน เชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุมักเกิดจาก Streptococcus pneumoniae , Haemophilus influenzaeและ Moraxella catarrhalis

Haemophilus influenzae

Moraxella catarrhalis

ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมคือ amoxicillin โดยพบว่ามีโอกาสกําจัดเชื้อ หรือทำให้อาการของไซนัสอักเสบดีขึ้นถึงร้อยละ 82.3 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาต้านจุลชีพ ซึ่งมีอาการดีขึ้นเพียงร้อยละ 68.734 และควรใช้ยาต้านจุลชีพรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานาน 14 วันสําาหรับไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง เชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุ มักเกิดจาก Pseudomonas,CNS และ gram negative bacteria ดังนั้น ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม ได้แก่ amoxicillin/ clavulanic acid หรือ second or third generation cephalosporinหรือ newer generation of macrolide (เช่น clarithromycin) หรือ quinolone (เช่น levoflox-acin) และควรใช้ยาต้านจุลชีพรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน 3-4 สัปดาห์

1.2) การลดการอักเสบ และส่งเสริมให้มีการระบายของอากาศ และน้ำมูกที่คั่งในไซนัส (reduceinflammatory process and promote ventilation and drainage) ยาสําาคัญที่จะทําาให้เยื่อบุโพรงจมูกลดการอักเสบและการบวมได้คือ ยาสเตียรอยด์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (intranasalsteroids) ที่ใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานจะทําาให้อาการไซนัสอักเสบของผู้ป่วยดีขึ้นเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทาน โดยไม่ได้ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกร่วมด้วย35สําาหรับการใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกในผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีริดสีดวงจมูกร่วมด้วยนั้น พบว่ายาสเตียรอยด์พ่นจมูก สามารถลดอาการทางจมูกและลดขนาดริดสีดวงจมูกได้ อาการไม่พึงประสงค์ และผลข้างเคียงของการใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกนั้นพบได้น้อย เช่น มีผนังกั้นช่องจมูกทะลุ (nasalseptal perforation) หรือเลือดกําาเดาไหล(epistaxis) ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาที่ไม่ถูกวิธี คือพ่นเข้าผนังกั้นช่องจมูก ซึ่งที่ถูกต้องคือพ่นไปทางด้านข้างของจมูก ส่วนโอกาสที่ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต (systemicbioavailability) นั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้ร้อยละ40-50 ในยาสเตียรอยด์พ่นจมูกรุ่นเดิม แต่ถ้าเป็นยาสเตียรอยด์พ่นจมูกรุ่นใหม่ ๆ แล้ว มีโอกาสเกิดได้น้อยกว่าร้อยละ 13 ผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังร่วมกับริดสีดวงจมูกขนาดใหญ่ อาจจําาเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานร่วมด้วย โดยให้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ (มักจะไม่เกิน 2 สัปดาห์) พบว่าสามารถลดอาการไซนัสอักเสบและขนาดของริดสีดวงจมูกได้ดี

การใช้ยาชนิดอื่น ๆ เพื่อรักษาไซนัสอักเสบ

ยาหดหลอดเลือด (decongestant)

มีทั้งชนิดรับประทาน (ได้แก่ pseudoephedrine,phenylephrine) และชนิดพ่น หรือหยอดจมูก(ได้แก่ ephedrine, phenylephrine, oxymetazoline)แม้ว่ายากลุ่มนี้อาจทําาให้อาการคัดจมูกของผู้ป่วยลดลง เนื่องจากทําให้ขนาดของ inferior turbinateลดลง แต่ไม่มีผลต่อการบวมของเยื่อบุไซนัส อย่างไรก็ตาม แพทย์มักจะให้ยากลุ่มนี้ เพื่อทําให้บริเวณ middle meatus ยุบบวม ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลัน โดยไม่ให้นานมากกว่า 5 วัน (เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนคือ จมูกอักเสบจากยา หรือ rhinitis medicamentosa) และต้องระมัดระวัง การใช้ยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทานในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงทางระบบหลอดเลือด หรือหัวใจได้

– ยาต้านฮิสทามีน จะช่วยทําให้อาการของผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ร่วมด้วยดีขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยไม่มีโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ร่วมด้วย การให้ยาต้านฮิสทามีนร่วมด้วยในการรักษาไซนัสอักเสบ จะไม่มีประโยชน์การล้างจมูกด้วยน้าเกลือ (0.9% normal saline solution)จะทําาให้อาการไซนัสอักเสบและ การพัดโบกของซีเลียดีขึ้น และแพทย์บางท่านนิยมให้ผู้ป่วยใช้นํา้าเกลือเข้มข้น (hypertonic saline) เพื่อทําาให้น้ำมูกในโพรงจมูกลดความหนืดลง แต่อาจทําาให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบจมูกได้ การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น steam inhalation,immunomodulator, furosemide, proton pump inhibitors, antileukotrienes ยังไม่มีหลักฐานว่าจะช่วยในการรักษาไซนัสอักเสบมากนัก

1.3) กำจัดปัจจัยที่ทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุจมูก และไซนัส เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ(reduce predisposing factors)เช่น ป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ถ้ามี ต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว ผู้ป่วยควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน และออกกําาลังกายสมํา่าเสมอ ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้หรือชนิดไม่แพ้ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และควรรู้จักวิธีปฏิบัติตัวและดูแลสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ผู้ป่วยที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือมีความผิดปกติทางกายวิภาคอื่น ๆ ในจมูก หรือมีริดสีดวงจมูก ควรรักษาด้วยยา หรือผ่าตัดให้เหมาะสมเป็นราย ๆ ไป

2. การรักษาด้วยการผ่าตัด (surgical management of rhinosinusitis)        

การผ่าตัดไซนัส มีข้อบ่งชี้ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เป็นฝีในเบ้าตา หรือผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่ได้รับการรักษาด้วยยาเต็มที่แล้ว ไม่ดีขึ้น หรือมีการอักเสบเป็นซํา้หลาย ๆ ครั้ง การผ่าตัดไซนัสนั้นจะมุ่งไปที่ทําทางระบายของน้ำมูกจากไซนัส บริเวณที่เรียกว่า OMC ให้กว้างขึ้นสามารถแบ่งชนิดของการผ่าตัดไซนัสได้เป็น

2.1) การผ่าตัดไซนัสโดยการเปิดแผลด้านนอก (external approach)เช่น การผ่าตัด maxillary sinus ทางด้านหน้าโดยการเปิดแผลบริเวณเหงือกบน (Caldwell-Lucoperation) การผ่าตัด ethmoid sinus และ sphenoid sinus โดยการเปิดแผลบริเวณข้างจมูก(external ethmoidectomy-sphenoidectomy)และการผ่าตัด frontal sinus โดยการเปิดแผลบริเวณหัวคิ้ว (transfacial frontoethmoidectomy:Lynch or Lothrop operation) ข้อดีคือ เห็นกายวิภาค และรอยโรคในไซนัสได้ชัดเจน สามารถนําพยาธิสภาพในไซนัส (เช่น ริดสีดวงขนาดใหญ่) ออกมาได้ แต่ข้อเสียคือ มีแผลเป็นบริเวณใบหน้ามีโอกาสทําาให้เส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณใบหน้าบาดเจ็บ เกิดอาการชา หรือเจ็บ และ/หรือ เกิดการบวมบริเวณใบหน้าได้

2.2) การผ่าตัดไซนัสโดยการใช้กล้องส่องผ่านรูจมูก (endonasal approach by nasal endoscope) การผ่าตัดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันคือ endoscopic sinus surgery (ESS) ซึ่งหมายถึงการใช้กล้องส่องผ่านทางรูจมูก และใช้เครื่องมือผ่าตัดบริเวณ OMC เพื่อระบายน้ำมูกจากไซนัสเข้ามายังโพรงจมูก ในปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ทันสมัยมากขึ้น (เช่น การใช้เลเซอร์, การใช้ sharp instruments (true cutting), การใช้เครื่องมือshaver ซึ่งเป็น powered instruments และการใช้ navigator ช่วยผ่าตัด) โดยยึดหลักว่าผ่าตัดไซนัสที่บริเวณ OMC และหลีกเลี่ยงการตัดเยื่อบุโพรงจมูกและไซนัสออก โดยไม่จําาเป็น เพราะจะทําาให้สูญเสียความสามารถของซีเลียในการพัดโบก และระบายนํา้ามูกออกจากไซนัส

สรุป

โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคนี้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง และทําาให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลงโรคไซนัสอักเสบมีตั้งแต่หายได้เองโดยไม่ต้องรักษาเช่น ไซนัสอักเสบตามหลังหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสและมีอาการไม่มาก ไปจนถึงไซนัสอักเสบที่ต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น ไซนัสอักเสบที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ตาและสมองโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจเกิดไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็น ๆ หาย ๆ หรือเกิดไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ถ้าผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสมในระยะเริ่มแรก จะช่วยลดอุบัติการณ์ของการกลับเป็นซํา้าหรือการเป็นเรื้อรัง และลดอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนและการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาได้โรคไซนัสอักเสบและโรคหืด พบร่วมกันได้บ่อยโรคไซนัสอักเสบทําาให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการแย่ลงดังนั้น จึงควรซักประวัติ และอาการของโรคไซนัสอักเสบในผู้ป่วยโรคหืดเสมอ และในทําานองเดียวกันควรซักประวัติ และอาการของโรคหืดในผู้ป่วยที่มีไซนัสอักเสบด้วยเสมอ ผู้ป่วยโรคหืดที่รักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือยังมีอาการอยู่ ควรได้รับการประเมินว่ามีโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วยหรือไม่ถ้าพบว่ามีโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย การรักษาโรคไซนัสอักเสบจะทําาให้อาการของโรคหืดดีขึ้น และสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยาควบคุมโรคหืด หรือใช้ยาควบคุมในปริมาณที่น้อยลงได้

สถาบันสอนว่ายน้ำเป็นเร็ว Bangkok Swimming by ครูจิ้น เราพร้อมช่วยท่านว่ายน้ำเป็นเร็วภายในคอร์สเดียว ได้รับการยอมรับจากสื่อชั้นนำทั่วประเทศ ดาราหลายท่านไว้วางใจมาเรียนที่นี่ รับประกันผล 100%

Reference:

https://www.bumrungrad.com/th/conditions/sinus-infection

https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_OPH/admin/knowledges_files/5_60_1.pdf

http://rcot.org/pdf/Rhinosinusitis-Is_it_important_in_asthma_management.pdf

https://www.honestdocs.co/sinusitis-symptoms-treatment-prevention

http://vt2.cpsc.ucalgary.ca/projects/sinus/index.html

https://slideplayer.com/slide/13374189/

https://www.creative-diagnostics.com/tag-haemophilus-influenza-antigens-40.htm

https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/nasal-polyp

https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/eye_ent/sinusitis.html