5 วิธีโรคลมแดด สถาบันสอนว่ายน้ำเป็นเร็วอันดับ 1 ของเมืองไทย เราพร้อมช่วยท่านว่ายน้ำเป็นเร็วภายในคอร์สเดียว สร้างพื้นฐานว่ายน้ำเพื่อไปต่อยอดกีฬาทางน้ำ ได้รับการยอมรับจากสื่อชั้นนำทั่วประเทศ ดาราหลายท่านไว้วางใจมาเรียนที่นี่ รับประกันผล 100% คุ้มค่ากับทักษะที่ท่านจะได้รับติดตัวไปตลอดชีวิต ลงทุนครั้งเดียว

5 วิธีโรคลมแดด


เป็นโรคที่ทุกท่านเคยได้ยินข่าวการเสียชีวิตจากการโดนแดดเป็นระยะเวลานาน หรือที่มีคนนอนเสียชีวิตอยู่ภายในบ้าน สามารถพบได้ทุกวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ อีกทั้งสามารถเกิดได้กับผู้ที่มีสุขภาพเเข็งแรงและไม่เเข็งเเรง  ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่ทำงานกลางแจ้งมากกว่า

5 วิธีโรคลมแดด ตามสถิติการเสียชีวิตเกิดได้ในคนอ้วนบ่อยกว่า เนื่องจากมีไขมันที่ผิวหนังมาก ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฉนวนกันความร้อน ทำให้คนอ้วนสามารถเก็บความร้อนได้ดี ขณะที่การระบายความร้อนออกทำได้น้อยกว่าคนทั่วๆ ไป นอกจากนี้บริเวณผิวหนังที่มีไขมันมากมักมีต่อมเหงื่อน้อยลงด้วย ดังนั้น คนอ้วนจึงมีโอกาสเกิดปัญหาได้ง่าย

Heat Stroke เป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องการการรักษาเร่งดวน มีอันตรายมาก แสดงถึงความลมเหลวในการควบคุมอุณหภมิของร่างกาย  อันตรายของ  Heat Stroke เกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงจนมากจนไปทําลายอวัยวะ ทุกระบบโดยระบบประสาทส่วนกลางที่ผิดปกติจะแสดงอาการไดเร็วที่สุด ในการวินิจฉัย Heat Stroke

1. อุณหภูมิแกนกาย มากกวา 40 ํC

2. มีอาการผิดปกติของระบบประสาทสวนกลาง

3. ร่างกายหยุดหลั่งเหงื่อ แต่ในข้อ3.นี้อาจไม่ นับเป็นเกณฑ์พิจารณา เพราะ Heat Stroke อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงหลั่งเหงื่อออกมาอย่างมากจนหยุดหลั่งเหงื่อ  ความผิดปกติของระบบ ประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาการที่พบระยะแรก ๆ คือ    เดินเซ  ( เนื่องจากสมองส่วน Cerebellum ถูกทําลาย พบไดไวที่สุด ) เป็นลม กระวนกระวาย แสดงพฤติกรรมแปลกประหลาด คุ้มคลั่ง เห็นภาพหลอน การรูสติเปลยนแปลง, อัมพาตครึ่งซีก, ชัก, ชักต่อเนื่อง, โคมา อย่างไรก็ ตาม เมื่อเริ่มเป็น อาการที่พบอาจไมสัมพันธ์กับระดับอุณหภูมิกาย แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 42 ํC ระบบประสาท ส่วนกลางจะถูกทำลายทั้งหมด การตายและภาวะแทรกซ้อน มีความสัมพันธั กับทั้งระดับ อุณหภูมิของร่างกายที่สูงมากขึ้น และระยะเวลาที่ ร่างกายมีอุณหภูมิที่มากกว่า 40 ํC ดังนั้น หากผู้ป่วยเจ็บได้รับการลดความร้อนชาอันตรายจะยิ่งสูงมากขึ้น

โรคลมแดด สมดุลความร้อนในร่างกาย

รางกายมนุษย์ จะมีการสร้างและระบายความร้อนอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาอุณหภูมิแกนกายให้ เหมาะสมกับการ ทํางานของอวัยวะต่างๆ โดยปกติอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายมนษยจะอยูที่ 37 C ± 1 หากอุณหภูมิลดลง 10 ํ C หรือเพิ่มขึ้นเพียง 5 ํC เซลล์ต่างๆจะถูกทำลาย  สมองส่วน Hypothalamus จะเป็นศูนย์กลางการประสานงานในกระบวนการควบคุมอุณหภูมิต่างๆเข้าด้วยกัน 

โรคลมแดด การได้รับความร้อน

โดยพื้นฐานแลวรางกายจะสรางความรอนจากปฏิกิริยาจากการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ประมาณ 1.2 Kcal ตอนาทีหรือประมาณ 60-70 Kcal ต่อชั่วโมง เมื่อกลามเนื้อทำงานโดยการหดและคลายตัวจะสร้างความร้อน เปนผลพลอยไดออกมาด้วย เพียงกลามเนื้อสั่นอยางเดียว สามารถสรางความรอนเพิ่มได 3-5 เทาของขณะพัก  หากออกกําลังกายหนักจะสรางความรอนเพิ่มขึ้นถึง 20-25 เทาของขณะพัก หรือประมาณ 20 Kcal ตอ นาทีในทางทฤษฎีแลว ความรอนที่สรางนี้สามารถเพิ่มอุณหภูมแกนกายได ิ 1  ํC (1.8 ํF) ทุก 5-7 นาทีหากไมมีระบบระบายความรอนที่ดี นอกจากนี้ความรอน

โรคลมแดด การระเหยของน้ํา (Evaporation)

เปนกลไกสําคัญมากของรางกายมนุษยที่อุณหภมู ิ 37 ํC น้ํา 1ลิตรที่ระเหยจะ ดึงเอาความร้อนออกไป 580 Kcal เหงื่อ 1.7 ml ระบายความร้อน 1 Kcal การระเหยของน้ําในภาวะปกติที่ออกทางผิวหนัง และทางเดินหายใจ เปนแบบที่เราไม่รู้สึกตัวและทําหน้าที่นี้ถึง 25% ของกระบวนการระบายความร้อนทั้งหมด แต่เมื่อ อากาศร้อนจัด ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนดวยการน้ำความร้อน การพาความร้อน การแผร่ ังสี กลับไดรบได้รบ ความร้อนเพิ่มจากสิ่งแวดล้อม การระเหยของนํา้ จึงเป็นกลไกเดียวของการระบายความรอนทั้งหมด ในแตละวันจะมีการระเหยของน้ําโดยไมรูตัวผานทางเหงื่อ ประมาณ 350 มิลลลิิตร / วัน ผ่านทางเยื่อเมือก ทางเดินหายใจ ประมาณ 300 มิลลลิตร / วัน

โรคลมแดด ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้อื่น

การลดอุณหภูมิกายด้วยวิธีการระเหยจะดีที่สุดได้ผลดีที่สุดและเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดใน classical heat stroke เนื่องจากมีประสิทธิภาพและทำง่าย ทำให้อัตราตายในผู้ป่วยเหล่านี้ลดลง

1. ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง จัดอากาศให้ถ่ายเทได้สะดวก

2. ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออกให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

3. เช็ดตัวผู้ป่วยด้วยน้ำเย็น หรือหาถุงน้ำแข็งวางบริเวณซอกรักแร้และขาหนีบทั้งสองข้างร่วมไปด้วย  หรือหาน้ำอุณหภูมิปกติเทลงตัวให้ผู้ป่วยลดอุณหภูมิ

4. ถ้าหากมีพัดลมเป่า ให้ใช้พัดลมอุ่น ให้น้ำระเหยออกจากผิวหนัง

5.  โทรหาศูนย์โรงพยาบาลหรือหน่วยเเพทย์ฉุกเฉินมารับตัวให้เร็วที่สุด ระหว่างนำส่งต้องให้อ๊อกซิเจนกับผู้ป่วย  เช็ดตัวและเป่าพัดลมอุ่นตลอดเวลา

การป้องกัน

1. ในสภาวะที่อากาศร้อนมาก ควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2 ลิตร ต่อวัน(ราว 6-8 แก้ว) หลีกเลียงอากาศร้อนชื้น ถ่ายเทไม่สะดวก

2. ในการออกกำลังกายในช่วงอากาศร้อนไม่ควรโหมหนัก ต้องรู้จักพัก, warming up และ warm down

3. ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และโปร่งสบาย เช่น ผ้าฝ้าย

4. สำหรับเด็กเล็ก คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ในช่วงที่อากาศร้อนมีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ควรต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด ช่วยหาอาหารและน้ำให้รัปประทานอย่างเพียงพอ

5. ถ้าอากาศร้อนก็ อาบน้ำทำตัวให้เย็นสบาย ปะแป้ง เปิดแอร์ เปิดพัดลมคลายร้อน งดอาหารประเภทมีแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่มีผลต่อารเพิ่มความร้อนในร่างกายเช่น ยาแอมเฟตามีน โคเคน ยารักษาโรคบางชนิดที่กินประจำแต่อาจมีผลรบกวนในเรื่องระบายความร้อน ก็อาจปรับเปลี่ยนให้เหมะสม

6. อาการแสดงที่บอกเราว่าจะเกิดภาวะนี้ได้แก่ เมื่อเราอยู่ในที่อากาศร้อน ชื้น การถ่ายเทไม่ดี หรือร่วมกับการฝึกหรืออกกำลังกาย อย่างหนัก หากมีอาการเหล่านี้ เหงื่อออกมาก หน้าซีด
ตะคริว อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม ตัวร้อนจัด ควรนึกถึงโรคนี้และรีบนำผู้ป่วยส่ง รพ.ทันที

เรียบเรียงโดย ครูจิ้น สอนว่ายน้ำเป็นเร็ว

-ขอบคุณที่มา:

http://ramathibodi.blogspot.com/2010/03/heat-stroke.html

http://www.nmd.go.th/preventmed/docu/Heat%20Stroke/Heat%20Stroke.pdf

http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=3745.0