กระบวนการหายใจว่ายน้ำ ( Respiratory Process )

ประกอบด้วย

  1. การหายใจภายนอก (external respiration) เป็นการทำงานของปอด โดยมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเลือดที่ไหลเวียนในปอดกับอากาศที่หายใจเข้าไป
  2. การขนส่งก๊าซ (transport mechanism) เป็นการขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์และ เนื้อเยื่อ และการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์และเนื้อเยื่อไปขับถ่ายออกทางปอด โดยอาศัย การไหลเวียนเลือด
  3. การหายใจภายใน (internal respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซ ที่เกิดขึ้นที่เซลล์และเนื้อเยื่อ การแลกเปลี่ยนก๊าซในสัตว์ชั้นต่ำจะไม่ยุ่งยาก เป็นเพียงการ diffusion ของ O2 ระหว่างผนังเซลล์ กับน้ำ แต่ในสัตว์ชั้นสูงเช่นมนุษย์เรา ขึ้นมาก็จะมี air tube เพื่อใช้แลกเปลี่ยนก๊าซ เช่น ปลาจะใช้เหงือก คนจะใช้ปอด เป็น ต้น ซึ่งการแลกเปลี่ยนก๊าซในสัตว์ชั้นสูงต้องอาศัยการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด และระบบการ หายใจ

การหายใจเข้าและออกจากปอด เกิดได้เนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างความดันบรรยากาศและ ความดันในถุงลม โดยเวลาหายใจเข้า ทรวงอกขยายตัวทำให้เนื้อเยื่อปอดขยายตัวตาม ความดันในปอด (ถุงลม) จะลดต่ำลง ตามกฏของบอยล์ (P µ 1/V นั่นคือ ผลคูณของความดันและปริมาตรย่อมมีค่าคงที่ ) ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดได้จนกระทั่งความดันภายในปอดเพิ่มขึ้นเท่ากับความดันบรรยากาศ อากาศจึง หยุดไหลเข้าปอดซึ่งเป็นการสิ้นสุดการหายใจเข้า ส่วนเวลาหายใจออกทรวงอกและเนื้อเยื่อปอดซึ่งมี ความยืดหยุ่นก็จะหดตัวกลับคืนสู่ปริมาตรเดิม ทำาให้ความดันภายในปอดเพิ่มขึ้นมากกว่าความดัน บรรยากาศ อากาศจึงไหลออกจากปอดสู่บรรยากาศภายนอก

การหายใจเข้าหรือออกในครั้งหนึ่งๆ ร่างกายจะได้รับอากาศเข้าหรือออกจากปอดเป็นส่วนๆ ตาม ความหมายของปริมาตรและความจุของปอดดังนี้ได้ โดยใช้ครื่องมือ spirometer ปริมาตรของปอดแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ

  1. Tidal volume (TV หรือ VT ) คือ ปริมาตรของอากาศหายใจเข้าหรือออกในครั้งหนึ่งๆ ใน ผู้ใหญ่จะมีค่าปกติประมาณ 500 มิลลิลิตร
  2. Inspiratory reserve volume (IRV) คือ ปริมาตรของอากาศที่สามารถหายใจเข้าเพิ่มได้อีก จนเต็มที่ต่อจากการหายใจเข้าตามปกติ มีค่าประมาณ 3,300 มิลลิลิตร
  3. Expiratory reserve volume (ERV) คือปริมาตรของอากาศที่สามารถหายใจออกได้อีกจน เต็มที่ต่อจากการหายใจออกตามปกติ มีค่าประมาณ 1,000 มิลลิลิตร
  4. Residual volume (RV) คือ ปริมาตรของอากาศที่ยังค งเหลือค้างอยู่ในปอด หลังจากการ หายใจออกอย่างแรงเต็มที่ มีค่าประมาณ 1,200 มิลลิลิตร

ลักษณะหรือรูปแบบของการหายใจ (Pattern of Breathing)

  1. Eupnea คือการหายใจปกติ หรือเรียกว่า quiet breathing เป็นการหายใจตามปกติ ที่มีวงจร การหายใจเข้าและการหายใจออกติดต่อกันอยู่ ตลอดเวลาโดยไม่มีระยะพัก ระยะเวลาของการหายใจออก จะนานเป็น 1.2 เท่า ของระยะเวลาการหายใจเข้า
  2. Tachypnea  คือการหายใจเร็ว เป็นการหายใจที่มีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นตามปกติ
  3. Hyperpnea คือการหายใจที่แรงกว่าปกติ หรือทั้งแรงและเร็วกว่าปกติ
  4. Dyspnea      คือการหายใจลำบากเป็นการหายใจที่ต้องใช้ความพยายามฝืนอย่างมาก
  5. Orthopnea คือการหายใจลำบากในท่านอนราบ
  6. Apnea          คือการหายใจที่หยุดค้างในท่าหายใจออก
  7. Apneusis     คือการหายใจที่หยุดค้างในท่าหายใจเข้า
  8. Apneustic Breathing คือการหายใจที่หยุดค้างในท่าหายใจเข้า สลับการหายใจออกเป็นระยะๆ
  9. Gasping       คือการที่มีการหายใจเข้าอย่างแรงในระยะสั้นแล้วหายไป อาจเป็นจังหวะ หรือไม่ สม่่าเสมอ

กระบวนการควบคุมการหายใจ

การหายใจเบื้องต้นมีศูนย์กลางการควบคุมอยู่ในเมดัลลาและพอนส์ (รูปที่ 1) โดยศูนย์ควบคุมการหายใจแยกเป็น  2  ศูนย์  คือศูนย์หายใจเข้าและศูนย์หายใจออก     ศูนย์หายใจเข้าจะสั่งงานให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจหดตัวผ่านทางเส้นประสาทฟรีนิก (phrenic nerve)  และเส้นประสาทอินเตอร์คอสตอล (intercostal nerve)    เส้นประสาทฟรีนิกสั่งงานให้กะบังลมทำงาน   เส้นประสาทอินเตอร์คอสตอลสั่งงานให้กล้ามเนื้อเอกซ์เทอร์นอล อินเตอร์คอสตอลทำงาน        สำหรับศูนย์หายใจออกจะสั่งงานเพื่อยับยั้งศูนย์หายใจเข้า ทำให้กะบังลมและกล้ามเนื้อเอกซ์เทอร์นอล อินเตอร์คอสตอลหยุดทำงาน  กลับสภาวะคลายตัว   และกล้ามเนื้ออินเทอร์นอล อินเตอร์คอสตอลกับกล้ามเนื้อท้องบางส่วนทำงาน   ทำให้อากาศถูกขับออกจากปอด    นอกจากนี้ศูนย์ควบคุมการหายใจในเมดัลลายังมีใยประสาทติดต่อกับสมองส่วนซีรีบรัม ทำให้การหายใจสามารถบังคับได้ด้วยความรู้สึกนึกคิด   แต่มีขีดจำกัดเนื่องจากการหายใจเป็นรีเฟล็กซ์     ศูนย์ที่ควบคุมการหายใจทั้งหมดมีดังนี้

  1. ศูนย์ในเมดัลลา มีทั้งศูนย์หายใจเข้า และศูนย์หายใจออก เป็นศูนย์ที่ควบคุมจังหวะของการหายใจ (respiratory rhythmicity of respiration) ทั้งสองศูนย์แบ่งการทำงานออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหายใจดอร์ซอล หรือ ดีอาร์จี (dorsal respiratory group; DRG) และกลุ่มหายใจเวนทรอลหรือวีอาร์จี (ventral respiratory group;VRG)  

1.ดีอาร์จีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจทั้งการหายใจเงียบและการหายใจที่มีการบังคับ  ส่วนวีอาร์จีจะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจที่มีการบังคับเท่านั้น   การทำงานของศูนย์หายใจออก  และหายใจเข้าจะมีปฏิกิริยาระหว่างกัน   ทั้งดีอาร์จีและวีอาร์จีมีรูปแบบแตกต่างกันของการหายใจเงียบและการหายใจที่มีการบังคับ  โดยในช่วงของการหายใจเงียบดีอาร์จี

                จะมีการทำงานในช่วงเวลา 2 วินาที  ทำให้มีการกระตุ้นกล้ามเนื้อของการหายใจเข้าให้ทำงาน  ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการหายใจเข้า      หลังจากนั้นดีอาร์จีจะหยุดการทำงานเป็นเวลา  3  วินาที  ช่วงเวลานี้กล้ามเนื้อของการหายใจเข้าคลายตัวกลับสภาวะปรกติทำให้เกิดการหายใจออก (รูปที่ 2 A)  สำหรับการหายใจที่มีการบังคับนั้น เกิดโดยการเพิ่มการทำงานของดีอาร์จี   และมีการกระตุ้นใยประสาทของวีอาร์จีให้ไปมีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมของการหายใจเข้า (inspiration accessory muscle)   และหลังจากการหายใจเข้าแต่ละครั้งแล้ว จะเกิดการหายใจออกที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อร่วมของการหายใจออก (กล้ามเนื้อท้อง) ตามมา (รูปที่ 2 B)

  1. ศูนย์ในส่วนพอนส์ ในพอนส์แยกศูนย์ควบคุมการหายใจ 2 ศูนย์ ได้แก่

2.1 ศูนย์แอพนิวส์ติก (apneustic center หรือ pace maker) อยู่ในสมองส่วนพอนส์ตอนล่างเป็นตัวส่งกระแสไปยังศูนย์หายใจเข้า ศูนย์หายใจเข้าจะส่งกระแสไปยังกล้ามเนื้อทำให้หดตัว และเกิดการหายใจเข้า เมื่ออากาศถูกบรรจุเข้าถุงลมภายในปอด กระแสนี้จะถูกตัด ทำให้หยุดการหายใจเข้า

               

2.2 ศูนย์นิวโมแทกสิก (pneumotaxic center) อยู่ในสมองส่วนพอนส์ ศูนย์นี้ถูกกระตุ้นตาม หลังการกระตุ้นศูนย์หายใจเข้าเพื่อส่งกระแสไปกระตุ้นศูนย์หายใจออก

 

                มีผลให้ไปยับยั้งศูนย์แอพนิวส์ติก ดังนั้นเมื่อการหายใจเข้าสิ้นสุดจะมีการหายใจออกตามมา เมื่อการหายใจออกสิ้นสุดแล้ว จะมีผลยับยั้งศูนย์นี้ตามมา ทำให้เกิดการหายใจเข้าครั้งใหม่ตามมาอีกในรอบใหม่ทั้งสองศูนย์นี้เกี่ยวข้องกับความถี่และความลึกของการหายใจ ถ้าศูนย์นิวโมแทกสิกมีการส่งกระแสหรือเพิ่มคลื่นประสาทมาก จะทำให้การหายใจถี่และตื้น  ถ้าศูนย์นิวโมแทกสิกลดการส่งกระแสหรือลดคลื่นประสาทลง จะทำให้การหายใจช้าและลึก   อย่างไรก็ตามความถี่หรือความลึกของการหายใจจะถูกกำหนดโดยอำนาจจิตใจส่วนหนึ่งด้วยดังกล่าวแล้วข้างต้น

               

2.3 เฮอริง บรูเออร์ รีเฟล็กซ์ (Hering Breuer reflex) วิธีนี้อาศัยรีเซพเตอร์ที่รับรู้การเหยียด (stretch receptor) ในปอด เมื่อปอดถูกเหยียดออก เนื่องจากการหายใจเข้า

  รีเซพเตอร์จะส่งกระแสตามประสาทเวกัสไปยังศูนย์หายใจออก ศูนย์หายใจออกจะทำงาน อากาศจะถูกขับออกจากปอด เมื่อปอดแฟบลง รีเซพเตอร์นี้ไม่ถูกกระตุ้น ทำให้ศูนย์หายใจออกทำงานไม่ได้ จะมีการหายใจเข้าครั้งใหม่ วิธีการนี้ป้องกันการเสียหายของปอด เนื่องจากการขยายตัวของปอดมากเกินไป

 

จากกระบวนการข้างต้นสรุปได้ว่า การควบคุมกระบวนการหายใจโดยศูนย์ควบคุมการหายใจแยกเป็น 2 วิธีการ ได้แก่ การควบคุมการหายใจโดยระบบประสาท    และการควบคุมการหายใจโดยสารเคมีในร่างกาย

2.1 เคโมรีเซพเตอร์ส่วนกลาง (central chemoreceptors)  อยู่ในสมองส่วนเมดัลลา จะรับรู้เกี่ยวกับความเป็นกรด-ด่าง   รวมทั้งปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในเวนตริเคิลที่ 4  เคโมรีเซพเตอร์ส่วนกลางจะมีปลายประสาทไปซินแนพซ์โดยตรงกับศูนย์ควบคุมการหายใจ    ถ้าปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดอาร์เทอรีในเวนตริเคิลที่ 4 มีปริมาณมาก จะแพร่เข้าสู่น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง  ความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง

              2.2 เคโมรีเซพเตอร์ตอนนอก (peripheral chemoreceptors) รีเซพเตอร์ชนิดนี้อยู่ในเอออร์ติก บอดี และคาโรติด บอดี (aortic และ carotid body) ตำแหน่งของเอออร์ติกและคาโรติด บอดีอยู่ในรูปที่ 4 (B) และรีเซพเตอร์ชนิดนี้รับรู้เกี่ยวกับความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ ความดันของออกซิเจน และความเป็นกรด-ด่าง (ผ่านทางไฮโดรเจน ไอออน) ของเลือดในหลอดเลือดอาร์เทอรี   ในกรณีของออกซิเจน ถ้าความดันออกซิเจนในหลอดเลือดอาร์เทอรีต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท รีเซพเตอร์จะส่งกระแสไปยังศูนย์ควบคุมการหายใจ ให้สั่งงานไปยังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจให้ทำงานมากขึ้น การระบายอากาศมากขึ้น ออกซิเจนจะถูกนำเข้าปอดมากขึ้น มีผลให้ความดันออกซิเจนเพิ่มขึ้น จนกลับระดับสู่ปรกติ การหายใจจะกลับสู่ปรกติ

 

Modification of Respiration

1.การไอ สาเหตุเกิดจากการระคายเคืองในทางผ่านอากาศหายใจเกิดรีเฟล็กซ์กระตุ้นต่อศูนย์ไอ ทำให้เกิดอาการไอ โดยมีการหายใจเข้าอย่างแรง มีการปิดของช่ องสายเสียง และหายใจออกอย่างแรง ผ่านช่องสายเสียงที่เปิดออกสู่ช่องปากด้วยอัตราความเร็วสูง

2. การจาม สาเหตุเกิดจากการระคายเคืองในบริเวณช่องจมูก เกิดรีเฟล็กซ์ทำให้เกิดการจาม โดยมีการหายใจเข้าอย่างแรง และหายใจออกอย่างแรงผ่านทางช่องจมูก

3.การหาวนอน เป็นอาการหายใจเข้าช้าๆ อย่างแรง โดยมีการเปิดปากกว้าง และตามด้วยการ หายใจออก

4.การสะอึก เป็นอาการหายใจเข้าอย่างแรง พร้อมกับมีการปิดของช่องสายเสียงทันที ท าให้เกิด เสียงสะอึก สาเหตุเกิดจากการหดเกร็งของกระบังลม เนื่องมาจากการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร

5.การกรน เป็นอาการหายใจออกทางปาก ที่ผ่านสิ่งกีดขวางทางเดินหายใจในที่นี้คือ เพดานอ่อน ท าให้เพดานอ่อนเกิดการสั่นสะเทือน เกิดเสียงกรนขึ้น

https://www.youtube.com/watch?v=kacMYexDgHg

 

 

Reference

http://fat.surin.rmuti.ac.th/teacher/songchai/respiratory%20web/respire%20control.htm

Berne RM, Levy MN. Physiology. 3 rd ed. St. Louis : Mosby Year Book Inc., 1993.

Ganong WF. Review of Medical Physiology. 8th ed. Connecticut : A Lange Medical Book, 1995.

Guyton AC. Textbook of Medical Physiology. 9 th ed. Philadelphia : W.B. Saunders Company, 1993.

Mackenna BR, Callander R. Illustrated Physiology. 6 th ed. New York : Churchill Livingstone, 1997.

 Sperelakis N, Banks RO. Essentials of Physiology 2nd ed. Boston : Little, Brown and Company, 1996.

West JB. Best & Taylor’s Physiological Basis of Medical Practice. 12th ed. Baltimore : William & Wilkins Company,1991.

https://www.doctor.or.th/article/detail/6206

 

https://www.youtube.com/watch?v=kacMYexDgHg