สถาบันสอนว่ายน้ำเป็นเร็วอันดับ 1 ของเมืองไทย เราพร้อมช่วยท่านว่ายน้ำเป็นเร็วภายในคอร์สเดียว ได้รับการยอมรับจากสื่อชั้นนำทั่วประเทศ ดาราหลายท่านไว้วางใจมาเรียนที่นี่ รับประกันผล 100% คุ้มค่ากับทักษะที่ท่านจะได้รับติดตัวไปตลอดชีวิต ลงทุนครั้งเดียว

โรครูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น

การรักษาโรครูมาติสซึ่ม, เรียนว่ายน้ำ, สถาบันสอนว่ายน้ำ, หาครูสอนว่ายน้ำ, เรียนว่ายน้ำเป็นเร็ว, ครูสอนว่ายน้ำ, โรงเรียนสอนว่ายน้ำ, เรียนว่ายน้ำผู้ใหญ่, เรียนว่ายน้ำเด็ก, เรียนพื้นฐานดำน้ำ

คำว่า “รูมาติสซั่ม” เป็นศัพท์โบราณที่แพทย์เคยใช้เรียกกัน เป็นคำทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า “rheumatism” (ที่ถูกควรออกเสียงว่า “รูมาติสซั่ม” มากกว่า “รูมาติสซั่ม”)
ความหมายประการแรกก็คือ อาการปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น จะด้วยสาเหตุอะไรก็ได้ทั้งสิ้น ก็เรียกรวม ๆ ว่า “รูมาติสซั่ม” ไปหมด ไม่ได้เจาะจงถึงโรคหนึ่งโรคใดโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นข้อแพลง ข้ออักเสบ ยอกกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ ก็จัดว่าเป็น “โรครูมาติสซั่ม” ได้หมด ดังนั้น คำ ๆ นี้จึงมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ปวดหัว” “ตัวร้อน” ซึ่งเพียงแสดงถึงลักษณะอาการของโรคต่าง ๆ ไม่ได้หมายถึงโรคนั้นโรคนี้แต่อย่างใด

โรคข้ออักเสบเรื้อรังอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ข้ออักเสบรูมาดอยด์ (rheumatoid arthritis) เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อต่อกระดูก ตามนิ้วมือ นิ้วเท้า และข้อสันหลัง ทำให้มีอาการปวดตามข้อต่าง ๆ พร้อมกัน ทั่วร่างกาย และเป็นเรื้อรังตลอดชีวิตเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อาจจะคุ้นตาผู้อ่านอยู่บ้าง ก็เช่น โรคเกาต์ (gout) ที่เกี่ยวข้องกับการมีกรดยูริกในร่างกายมากเกินไป, โรคแอสแอลอี (SLE) ที่เกี่ยวข้องกับความแปรปรวนของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ซึ่งล้วนแต่มีอาการปวดข้อเรื้อรังทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เมื่อพูดถึงโรคปวดข้อเรื้อรัง ก็เลยตีขลุมเอาว่าเป็น “รูมาติสซั่ม” เมื่อนึกถึง “รูมาติสซั่ม” ก็พาลคิดว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ความจริงอาการปวดข้อปวดเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อ (อาการรูมาติสซั่ม) จะหายขาดหรือไม่ก็ย่อมสุดแล้วแต่สาเหตุที่เป็น ที่หายขาดก็มี ที่เรื้อรังก็มี  นี่คือความหมายของโรครูมาติสซั่มในประการแรก

[su_youtube url=”https://www.youtube.com/watch?v=8Wj91o_XNUM” responsive=”no”]
การรักษาโรครูมาติสซึ่ม, เรียนว่ายน้ำ, สถาบันสอนว่ายน้ำ, หาครูสอนว่ายน้ำ, เรียนว่ายน้ำเป็นเร็ว, ครูสอนว่ายน้ำ, โรงเรียนสอนว่ายน้ำ, เรียนว่ายน้ำผู้ใหญ่, เรียนว่ายน้ำเด็ก, เรียนพื้นฐานดำน้ำ
เรียนว่ายน้ำรักษาโรคข้ออักเสบ 7

สาเหตุที่เกิด

เมื่อเป็นโรครูมาตอยด์จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?
เมื่อเป็นโรครูมาตอยด์ เยื่อบุข้อจะมีการเจริญงอกงามและมีการหนาตัว จากนั้นจะลุกลามทำลายกระดูกและข้อในที่สุด ในระยะแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ มีอาการฝืดขัดข้อเป็นเวลานานในตอนเช้า เมื่อมีอาการชัดเจนข้อจะมีการบวม ร้อน และปวด โรคนี้สามารถเป็นได้กับทุกข้อของร่างกาย แต่ที่พบไดบ่อยคือข้อของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า อาการของข้ออักเสบจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลันได้ บางรายอาจมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการทางระบบตา ปอด และมีปุ่มขึ้นตามตัวได้

สาเหตุของโรครูมาตอยด์คืออะไร ?
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่จากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีส่วนเกี่ยวกับการติดเชื้อบางอย่าง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิด

ปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีผลต่อให้เกิดโรครูมาติสซึ่ม

เพศ: ผู้หญิงมีเเนวโน้มที่จะเป็นโรคครูมาตอย์ดได้มากกว่าผู้ชาย อัตราผู้้หญิงต่อผู้ชายส่วน 3 ต่อ 1

อายุ: เกิดได้ทุกช่วงอายุ เเต่ส่วนใหญ่จะเกิดในวัยกลางคน

ประวัติครอบครัว: ถ้าสมาชิกในบ้านมีประวัติที่จะเปิด เราก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากยิ่งขึ้น

การสูบบุหรี่: การสูบบุหรีจะเพิ่มความเสี่ยงไปกระตุ้นสารพันธกรรมถ้าครอบครัวคุณเป็นโรคนี้อยู่เเล้ว

สภาพเเวดล้อม: พวกเเร่ใยกินหรือเเร่ซิลิก้า ทำให้มีโอกาสในการพัฒนาโรคนี้ นักกู้ภัยที่มีโอกาสเจอฝุ่นมากๆก็มีความเสียงที่จะเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ความอ้วน: เมื่อผู้หญิงอายุถึง 55 มีโอกาสที่จะเปิดโรคนี้มากกว่าคนผอม

การตรวจหาสารรูมาตอยด์ในเลือด?
* สารรูมาตอยด์สามารถตรวจพบได้ในเลือด ตรวจหาค่ารูมาตอย์ดเเฟรก์เตอร์ซึ่งเป็นเเอนตี้บอดี้ของเลือดของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ประมาณร้อยละ 70-80 แต่สารนี้สามารถตรวจพบได้ในโรคข้ออักเสบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรครูมาตอยด์ ตรวจพบได้ในโรคติดเชื้อบางอย่าง หรือตรวจพบได้ในคนปกติ ดังนั้นการตรวจพบสารนี้จะไม่ได้บอกว่าผู้ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์ แต่จะใช้ในการสนับสนุนการวินิจฉัยโรค อนึ่ง ในระยะแรก ๆ ของโรครูมาตอยด์การตรวจหาสารนี้อาจให้ผลลบได้

  • ตรวจหาค่าอักเสบในร่างกาย ได้เเก่ค่าอัตราตกของเม็ดเลือดเเดง หรืออีเอสอาร์ (ESR) ย่อมาจาก Erythrocyte Sedimentation หรือค่า CRP (C-Reactive Protein) ในระยะข้ออักเสบ ค่าทั้งสองจะสูงขึ้น
การรักษาโรครูมาติสซึ่ม, เรียนว่ายน้ำ, สถาบันสอนว่ายน้ำ, หาครูสอนว่ายน้ำ, เรียนว่ายน้ำเป็นเร็ว, ครูสอนว่ายน้ำ, โรงเรียนสอนว่ายน้ำ, เรียนว่ายน้ำผู้ใหญ่, เรียนว่ายน้ำเด็ก, เรียนพื้นฐานดำน้ำ
เรียนว่ายน้ำรักษาโรคข้ออักเสบ 8

การรักษาโรคนี้

1. การใช้ยา

ยาการปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค เช่นเมทโธเทร็กเซ็ต ซัลฟาซาลารีน คลอโรควิน ไฮดรอกซีคลอโรควิน ลีฟลูโนมาย์ด อะซาไธโอปริน และไซโคลสปอรรีน เป็นต้นยาในกลุ่มนี้จะช่วยการลดการอักเสบของข้อ ยับยั้งหรือชะลอการกร่อนการทำลายข้อ ชะลอความพิการของโรค แต่ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่รุนเเรง จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอย์ด เช่น นาโปรเซ็น ไดโคลฟิเเนค ไอบูโพรเฟน ซิลีค็อกซิบ และอีริค็อกซิบ ยาเหล่านี้จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารเเละไตได้
  • ยาคอร์ติโคสเตียรอย์ด เช่น เพรดนิโซเลน เป็นยาที่ระงับการอักเสบของข้อได้ มีผลดีการระงับการอักเสบของข้อได้ดีในระยะเเรก โดยเฉพาะยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียร์รอย์ดแล้วไม่ได้ผล แต่ยานี้เมื่อใช้ไปนานๆเเล้วจะเกิดผลกระทบเช่น อ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตาเป็นต้อกระจก กล้ามเนื้ออ่อนเเรงเเละกระดูกพรุน เเพทย์จะเลือกใช้ในผู้ป่วยเเต่ละรายอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง และไม่ควรปรับยาเอง หากสงสัยหรือไม่เเน่ใจควรปรึกษาเเพทย์ก่อนเท่านั้น

2.การไม่ใช้ยา *หลีกเลี่ยงการบิด ดัดข้อหรือท่าทางที่ทำให้ข้อโค้งผิดรูปมากไป เช่นการนั่งยองหรือนั่งพับเพียบในกรณีที่มีข้อเข่าอักเสบ หรือหลีกเลี่ยงในการบิดข้อมือในกรณีที่มีข้ออักเสบ พยายามอย่าจับสิ่งของที่เล็กเกินไปและการจับสิ่งของเล็กเกินไป


3. การพักผ่อนและการบริหารร่างกาย มีส่วนสำคัญมากในการรักษาผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ การพักผ่อนจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ไม่มีอาการอ่อนเพลีย แต่การพักที่นานเกินไปจะทำให้ข้อฝืดขัด ดังนั้นการพักผ่อนจะต้องสมดุลย์กับการบริหารร่างกาย การว่ายน้ำจะสามารถช่วยให้ข้อต่อได้ออกกำลังกายกับเเรงต้านของน้ำทำให้ข้อต่อได้ออกกำลังกายโดยไม่มีเเรงกระทบทำให้เกิดการบาดเจ็บเหมือนกีฬาอื่น
4. การป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายมากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยควรเรียนรู้ และหลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างที่อาจส่งเสริมให้ข้อถูกทำลายเร็วขึ้น เช่น การนั่งพับเข่าในกรณีที่มีข้อเข่าอักเสบ หรือการบิดข้อมือในกรณีที่มีข้อมืออักเสบ การรู้จักใช้กายอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ไม้เท้า เครื่องช่วยเดิน จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวคล่องขึ้นและหลีกเลี่ยงแรงที่กระทำต่อข้อได้
5. การผ่าตัด จะมีบทบาทในการรักษาโรครูมาตอยด์ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว หรือกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เอ็นขาด เป็นต้น การผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนข้อจะช่วยให้ข้อทำงานได้ดีขึ้น

6. การใช้ยาฉีดสามารถเเบ่งเป็น 3 ชนิดได้เเก่

1.ยาฉีดสเตรอย์ดเข้าที่ข้อ

2. ยาเกลือทอง

3. ยาในกลุ่มสารชีวภาพ

Reference:

https://www.versusarthritis.org/about-arthritis/treatments/drugs/methotrexate/

[su_permalink]http://www.thairheumatology.org/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C/[/su_permalink]